การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
4) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ห้อง 4/2 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 รหัสวิชา ค30201 เรื่อง เซต จำนวน 4 เล่ม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1 รหัสวิชา ค30201 เรื่อง เซต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.79 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.38 ถึง 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.94 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.68 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.67 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.89 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.74 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้
t – test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบ วัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1.1 ได้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1
รหัสวิชา ค30201 เรื่อง เซต ทั้งหมด 4 เล่ม โดยทั้ง 4 เล่ม มีจำนวนใบความรู้ 15 ใบ มีจำนวน แบบฝึกทักษะ 16 ใบ มีจำนวนแบบฝึกทักษะเสริม 15 ใบ มีจำนวนแบบสรุปเนื้อหา 4 ใบ มีจำนวน แบบแสดงการคิดข้อสอบแนว O-NET ของนักเรียน 4 ใบ มีแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จำนวน 40 ข้อ และเวลาเรียนจำนวน 15 ชั่วโมง
1.2 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกเล่มมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบ วัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.6891 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.91
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบวัฏจักร 5E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar=4.76)