LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียน

usericon

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่ม สืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เว็บไซต์การเรียน Flipped Classroom 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีม 5) แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า
1.    ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการ
เรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทำให้ได้องค์ประกอบของรูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่ม สืบสอบมีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน 3) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเว็บ 4) การติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ 5) กิจกรรมกลุ่มเพื่อการประยุกต์ใช้ และ 6) การวัดและประเมินผล ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแบ่งกลุ่ม 2) ขั้นนำเสนอเนื้อหาบนเว็บ 3) ขั้นบันทึกการเรียนรู้ 4) ขั้นร่วมกันวางแผนแบ่งหัวข้อเพื่อสืบค้น 5) ขั้นเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างผลงาน และ 6) ขั้นนำเสนอผลงาน
    2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่ม สืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อันประกอบ6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน 3) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเว็บ 4) การติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ 5) กิจกรรมกลุ่มเพื่อการประยุกต์ใช้ และ 6) การวัดและประเมินผล ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแบ่งกลุ่ม 2) ขั้นศึกษาเนื้อหาบนเว็บ 3) ขั้นบันทึกการเรียนรู้ 4) ขั้นร่วมกันวางแผนแบ่งหัวข้อเพื่อสืบค้น 5) ขั้นเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างผลงาน และ 6) ขั้นนำเสนอผลงาน รูปแบบมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.06/80.89 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมจากการประเมินตนเองในการเรียนรู้เป็นทีมในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมจากการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้เป็นทีมด้วยเกณฑ์ประเมินแบบรูบริค ประเมินโดยผู้วิจัย ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมจากการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้เป็นทีมด้วยเกณฑ์ประเมินแบบรูบริค ประเมินโดยสมาชิกในทีม ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^