รายงานการพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดแจ้ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ชื่อผู้ศึกษา : นางบัณฑิกา สองสัญ
รายงานการพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดแจ้ง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงทดลองโดยใช้รูปแบบ One Group Pretest- posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดแจ้ง จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องสารในชีวิตประจำวัน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น จำนวน 16 ชุด 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องสารในชีวิตประจำวัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 87.93/87.84
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีคะแนนทดสอบหลังฝึกทักษะสูงกว่าก่อนฝึกทักษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่า 0.6907 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 69.07
4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 3.96 และรายด้านด้านเนื้อหา 3.89 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 3.96 ด้านสื่อการเรียนการสอน 3.95 ด้านการวัดประเมินผล 4.10