การประเมินผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนพังทุย
โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ปีการศึกษา 2555
ผู้รายงาน นายโกสินทร์ บุญมาก ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานศึกษาที่สังกัด โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
ปีที่จัดพิมพ์ พ.ศ. 2556
บทคัดย่อ
การประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ปีการศึกษา 2555 โมเดล (CIPP Model) เป็นแนวทางในการประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม การดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ 3) ประเมินด้านกระบวนการการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ 4) ประเมินด้านผลผลิต การดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน ประกอบด้วยครูในโรงเรียนจำนวน 19 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 160 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 160 คน ที่ได้มาจากการการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 3 ฉบับ
ฉบับที่ 1 สำหรับครู ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า และกระบวนการ ฉบับที่ 2 สำหรับนักเรียน ประเมินด้านกระบวนการและผลผลิต และฉบับที่ 3 สำหรับผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินความพึงพอใจในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการโดยภาพรวมตามความคิดเห็นของคณะครู มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.64) ข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ โครงการ
มีความสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียน รองลงมา คือ โครงการสอดคล้องกับ
ความมุ่งหมายของกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนข้อที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด คือ โครงการเหมาะสมกับสภาพปัญหาของโรงเรียน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยภาพรวมตามความคิดเห็นของคณะครู มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.60) ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อม ส่วนข้อที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด คือ ด้านบริหารจัดการ
3. ด้านกระบวนการของโครงการโดยภาพตามความคิดเห็นของครู มีความคิดเห็น
การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.45) ด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านบรรยากาศ และปฏิสัมพันธ์ รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต และส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ การวัดและประเมินผล และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.46) ข้อที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ และแผ่เมตตา รองลงมา คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมเข้าค่ายพุทธธรรม และข้อที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลการดำเนินการโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
4. ด้านผลผลิตของโครงการโดยภาพรวมตามความคิดเห็นของนักเรียน มีความคิดเห็น การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 4.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด
คือ ด้านพัฒนากาย รองลงมา คือ ด้านพัฒนาศีล และด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ด้านพัฒนาปัญญา และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกระดับชั้น เท่ากับ 2.83 คิดเป็นร้อยละ 95.37
5. ความคิดเห็นความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนโดยภาพรวมมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมาก ( = 4.38) และความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านที่มี ความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านผลผลิต
กล่าวโดยสรุปโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ปีการศึกษา 2555 ดำเนินการไปได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรดำเนินการต่อไป