Best Practice “อนุบาลน้อย......สู่ธรรมะ”
“อนุบาลน้อย......สู่ธรรมะ”
โรงเรียนวัดทุ่งสว่างอำเภอเมืองนครราชสีมา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
---------------------------------------------------------
ชื่อ Best Practice โครงการ “อนุบาลน้อย......สู่ธรรมะ”
ผู้นำเสนอผลงาน นางอภิญญา เนียมกลาง
ที่อยู่ โรงเรียน วัดทุ่งสว่าง อำเภอเมืองนครราชสีมา
74 ถนนพายัพทิศ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
อีเมล์ NEAMKLANGS@GMAIL.COM
หลักการและเหตุผล/ความเป็นมา
ปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี การศึกษาเป็นการพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตในทุกด้าน พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านกิจกรรมการเล่น ภายใต้บริบทสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณสุขภาพจิตที่ดี เป็นผู้ที่ทันต่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีคุณค่าต่อตนเองและสถาบันสังคมอื่นภาพชีวิตที่ดี ให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีสุขภาพ
สภาพปัจจุบัน
โรงเรียนวัดทุ่งสว่าง เป็นโรงเรียนขนาดกลางจัดการศึกษา 2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา
- ชั้นอนุบาล 1 จำนวน 32 คน - ชั้นอนุบาล 2จำนวน 27 คน
- รวมจำนวน 59 คน
โรงเรียนมีการจัดประสบการณ์สำคัญทั้ง 4 ด้าน
- 1.ด้านร่างกาย
- 2.ด้านอารมณ์และจิตใจ
- 3.ด้านสังคม
- 4.ด้านสติปัญญา
ปัญหา
- 1.เด็กมีปัญหาด้านผู้ปกครองหย่าร้าง
- 2.เด็กขาดความรักความอบอุ่นและความสนใจในการดูแลเอาใจใส่
- 3.เด็กมีความสนใจในกิจกรรมการเรียนสั้น
วัตถุประสงค์
1.เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม
2.เพื่อให้เด็กมีความประพฤติและปฏิบัติตนได้ถูกต้องเหมาะสมกับวัยสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต
ได้อย่างเป็นสุข
แนวคิด ทฤษฏี ที่เกี่ยวข้องตามหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย
หลักคุณธรรมจริยธรรม
การเรียนรู้
การดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการปฏิบัติ
1.ประชุมคณะครู ผู้ปกครอง เพื่อวางแผนการดำเนินงานการจัดกิจกรรม
2. กำหนดโครงการ / กิจกรรม
3. การดำเนินงานตามโครงการ
3.1 กิจกรรมหนูน้อยฝึกจิต
3.2 กิจกรรมหนูน้อยมารยาทงาม
3.3 กิจกรรมคุณธรรมประจำสัปดาห์
3.4 กิจกรรมหนูน้อยเข้าวัดทุกวันพระและการมีจิตอาสา
แนวการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระยะเวลา แนวดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ
ระยะที่ 1
พ.ศ. 2556 1.1การประชุมเตรียมการร่วมกันของครู ผู้ปกครอง
1.2การกำหนดโครงการ/กิจกรรม
1.3การกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน นางวรรณา ดีทะเล
นางอภิญญา เนียมกลาง
น.ส. ภัศรา กิ่งชัย
น.ส.อารีรรณ บุญส่ง
น.ส.เตือนใจ วงผดุง
น.ส.นาถลัดดา มองขุนทด
ระยะที่ 2 2.1 การจัดประสบการณ์ตามโครงสร้างหลักสูตร
2.2กิจกรรม “ อนุบาลน้อย........สู่ธรรมะ ”
ระยะที่ 3 3.1การบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ในการสังเกต
3.2 จัดนิทรรศการเผยแพร่/สรุป/รายงานผล
ผลการปฏิบัติงาน
1.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องเหมาะสมกับวัย
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ร้อยละ 100
2.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้สมวัย ร้อยละ 95
3.ครูมีรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่สามารถบูรณาการเรียนการสอนได้ ร้อยละ 100
4.ครูมีสื่อการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพและสร้างสรรค์ ร้อยละ 100
5.เด็กและครูมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สู่ Best Practice ร้อยละ 90
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.ด้านแนวคิด
2.ด้านปัจจัย
3.ด้านการจัดการ
4.ด้านนักเรียน
ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลที่เกิดกับนักเรียน
1. เด็กมีคุณธรรม จริยธรรมและจิตใจที่ดีงามตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
2 . เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาอย่างเต็มศักยภาพ
ผลที่เกิดกับครู
1. ครูมีรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่สามารถบูรณาการเรียนการสอนได้ ร้อยละ 100
2. ครูมีความสามารถจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพและสร้างสรรค์ ร้อยละ 100
ผลที่เกิดกับโรงเรียน
1. เด็กและครูมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สู่ Best Practice ร้อยละ 100
2. โรงเรียนมี Best Practice ที่มีคุณภาพ ร้อยละ 100
3. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ร้อยละ 100