LASTEST NEWS

01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 

ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น

usericon

ชื่อเรื่อง     :     ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ผู้ศึกษา    :    เมธี บุญตา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา : 2561
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและก่อนเรียน รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 20 แผน เวลาเรียน 20 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 20 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนและก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ พบว่า มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 14.19 คิดเป็นร้อยละ 47.29 มีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 25.59 คิดเป็นร้อยละ 85.31 ดังนั้น คะแนนหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 11.40 คิดเป็นร้อยละ 38.02 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ คือ ร้อยละ 80 โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปรากฏว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55 ) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมา คือ การเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจต่อสิ่งที่เรียนคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น , การวัดผลประเมินผลมีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน และการจัดการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะช่วยให้นักเรียนเกิดความรับผิดชอบต่อการเรียนเพิ่มขึ้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ แบบฝึกทักษะแต่ละเล่มมีเนื้อหาสั้นยาวเหมาะสม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^