รายงานการประเมินโครงการสถานศึกษาวิถีพอเพียงของโรงเรียน
ชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้รับผิดชอบ ดร.ธนาวุฒิ ลับภู
ระยะเวลาดำเนินการ 16 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อประเมินผลโครงการสถานศึกษาวิถีพอเพียงของโรงเรียนชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) เพื่อประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการสถานศึกษาวิถีพอเพียงของโรงเรียนชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และ2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการสถานศึกษาวิถีพอเพียงของโรงเรียนชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ประเมินครั้งนี้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการสถานศึกษาวิถีพอเพียงของโรงเรียนชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ครูผู้สอนระดับชั้นป.1- ป.6 จำนวน 6 คน นักเรียนระดับชั้น ป.1 – ป.3 จำนวน 18 คน นักเรียนระดับชั้น ป.4 – ป.6 จำนวน 25 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นป.1- ป.6 จำนวน 43 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการสถานศึกษาวิถีพอเพียงของโรงเรียนชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
1.1 จำนวนครูผู้สอนระดับชั้น ป.1-ป.6 ได้รับการพัฒนาตามแนวคิดวิถีพอเพียง ดำเนินการได้สำเร็จ
ตามระยะเวลาที่กำหนดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สูงขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
1.2 ครูผู้สอนระดับชั้น ป.1-ป.6 มีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
1.3 จำนวนผู้เรียนระดับชั้น ป.1-ป.3 ได้รับการพัฒนาตามแนวคิดวิถีพอเพียงดำเนินการได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สูงขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
1.4 ผู้เรียนระดับชั้น ป.1-ป.3 มีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
1.5 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการพัฒนาผู้เรียนระดับชั้น ป.1-ป.3 ตามแนวคิดวิถีพอเพียงกับผลการเรียนเฉลี่ย(GPA)ของผู้เรียน ภาพรวมไม่น้อยกว่าระดับมาก ในทิศทางบวก อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
1.6 จำนวนผู้เรียนระดับชั้น ป.4-ป.6 ได้รับการพัฒนาตามแนวคิดวิถีพอเพียง ดำเนินการได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สูงขึ้นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
1.7 ผู้เรียนระดับชั้น ป.4-ป.6 มีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
1.8 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการพัฒนาผู้เรียน ระดับชั้น ป.4-ป.6 ตามแนวคิดวิถีพอเพียงกับผลการเรียนเฉลี่ย(GPA)ของผู้เรียน ภาพรวมไม่น้อยกว่าระดับมาก ในทิศทางบวกอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
2.1 ปัญหา อุปสรรค พบว่า การวางแผนงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่เกิดผลเพียงพอเท่าที่ควร การส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้แก่ครูด้านวิถีพอเพียงยังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่เท่าที่ควร การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิต การปฏิบัติภารกิจ หน้าที่ตามแนวคิดวิถีพอเพียงในการพัฒนาบุคลากรยังไม่ต่อเนื่อง จริงจัง ยั่งยืนมากนัก การนำผลการติดตามมาปรับปรุง พัฒนาการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม สาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่เกิดผลมากนัก ตลอดจนการให้ความสำคัญกับผู้เรียนโดยตรงยังมีไม่มากนัก
2.2 ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการวางแผนงานโครงการสถานศึกษาวิถีพอเพียงของโรงเรียนชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลเพียงพอมากขึ้น ควรมีการส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้แก่ครูด้านวิถีพอเพียงให้สามารถดำเนินการได้เต็มที่ ควรมีการติดตามผลการดำเนินงานให้มีความต่อเนื่อง จริงจังและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ควรมีการนำผลการติดตามมาปรับปรุง พัฒนาการดำเนินกิจกรรมให้เกิดผลมากขึ้นตลอดจนการให้ความสำคัญกับผู้เรียนโดยตรงให้มากยิ่งขึ้น