LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย     นายประเสริฐ ต้นโนเชียง
สถานที่    โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่พิมพ์    2559

บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง จำนวน 24 คน 2) นักเรียนโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 103 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน 4) ชมรมผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 3) คู่มือประกอบการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 4) แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ

ผลการวิจัย พบว่า
    1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง พบว่า การศึกษาสภาพและปัญหา โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบขอบข่ายของงานวิชาการ 7 ขอบข่าย ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และผลการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ โดยใช้แบบสอบถาม พบว่า โดยภาพรวม ครูมีความคิดเห็นของอยู่ในระดับ ปานกลาง ( u=3.24) นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( u=3.23)
คณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( u=3.46) ชมรมผู้ปกครองมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.97)
    2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 3) การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา 4) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับขอบข่ายวิชาการอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.45) ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( u=3.26)ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงานวิชาการ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( u=3.37) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( u=3.35) และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบฯ พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( u=3.27)
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รอบที่ 1 ระหว่าง 18 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2559 ประชุม เพื่อสรุปผล อภิปรายและหาข้อค้นพบ ในวันที่ 26 กันยายน 2559 และรอบที่ 2 ระหว่าง 2 พฤศจิกายน 2559–30 มีนาคม 2560 ประชุม เพื่อสรุปผล อภิปรายผล ในวันที่ 15 มีนาคม 2560 พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ได้ดำเนินตามกิจกรรมย่อยดังนี้ การจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอน การวางแผนองค์กรเพื่อการสอน การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารการเรียนการสอน การจัดโครงการพัฒนาบุคลากร การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 2) การทำงานเป็นทีมงานวิชาการ ฝึกทักษะ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์ 3) ผลการปฏิบัติงานตามแนวทางภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผนงานวิชาการ การบริหารงานวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน การแนะแนวการศึกษา และการประเมินผล
    4. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า 1) ความพึงพอใจของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( u=4.21) 2) ความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( u=3.95) 3) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมคอยู่ในระดับ มาก ( u=3.69) 4) ความพึงพอใจของชมรมผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( u=4.07) 5) ความพึงพอใจ โดยภาพรวมความอยู่ในระดับ มาก ( u= 3.98)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^