LASTEST NEWS

06 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 ต.ค. 2567โรงเรียนบางละมุง รับสมัครครูอัตราจ้าง 7 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 18 ตุลาคม 2567 05 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 05 ต.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ 2 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 15 ตุลาคม 2567  04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครพนักงานขับรถ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 12,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พัก ตั้งแต่บัดนี้ - 24 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดบวรนิเวศ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท มีประกันสังคม และที่พักในโรงเรียน ตั้งแต่บัดนี้ - 21 ตุลาคม 2567 04 ต.ค. 2567ยินดีด้วยครับ!! สอศ.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 1 จำนวน 415 อัตรา - รายงานตัว 10-11 ต.ค.2567 03 ต.ค. 2567โรงเรียนนาน้อย รับสมัครครูผู้สอน 2 อัตรา เงินเดือน 9,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 13 ตุลาคม 2567 03 ต.ค. 2567ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 10/2567 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 02 ต.ค. 2567สอศ.ประกาศผลสอบครูผู้ช่วย เช็กรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ ขึ้นบัญชีบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ ปี 2567 ได้ที่นี่

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย

usericon

    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model ในด้านต่อไปนี้ 2.1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model 2.2) ศึกษาพัฒนาการทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model 3) ขยายผลการใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา จำนวนนักเรียนทั้งหมด 15 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 30 คน
ทำการพัฒนาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ตั้งแต่ วันที่ 2 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 15 เดือน มกราคม พ.ศ. 2561 ใช้เวลาเรียน 27 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง (รวมการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
    1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ มีกระบวนการจัดการเรียนรู้
7 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม (Keen : K) ขั้นที่ 2 เรียนรู้กระบวนการคิด (Wisdom : W)
ขั้นที่ 3 จัดระบบความรู้ (Arrange : A) ขั้นที่ 4 ฝึกทักษะ (Nature : N) ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ (Jibe : J)
ขั้นที่ 6 สรุป (Abstract : A) ขั้นที่ 7 ประเมินผล (Impede : I) ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.96/82.08 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
    2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model พบว่า
        2.1 ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่จัด
การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        2.2 ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่จัด
การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model สูงขึ้นในช่วงระหว่างเรียน
        2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัด
การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.65, S.D. = 0.60)
    3. การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KWANJAI Model พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลมีทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ และมีพัฒนาการทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ในช่วงระหว่างเรียน นอกจากนี้ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^