LASTEST NEWS

01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 

รายงานการประเมินโครงการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลังในการจัดการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลัง ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ผู้ประเมิน กันยารัตน์ ไวคำ ปีที่ประเมิน พ.ศ.2561

บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลัง ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อม ก่อนดำเนินงานตามโครงการ 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการ 3) ประเมินกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ 4) ประเมินผลผลิตในการดำเนินงาน ตามโครงการโดยใช้ CIPP MODEL เป็นรูปแบบในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการนิเทศติดตามและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอน และนักเรียนในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 แยกเป็นคณะกรรมการนิเทศฯ จำนวน 44 คน ครูผู้สอน จำนวน 152 คน และนักเรียน จำนวน 2,400 คน
เครื่องมือที่ใซ้ในการประเมินเป็นแบบประเมิน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 7 ฉบับ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-Dependent ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อมก่อนการดำเนินการตามโครงการ
1.1 ครูผู้สอนและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อสภาวะแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป ในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2561 มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง สิ่งที่ควรปรับปรุงและพัฒนาขึ้น คือด้านเทคนิคการสอนของครูและด้านผลที่เกิดกับนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
1.2 ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อสภาวะแวดล้อมของโครงการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลังในการจัด การเรียนรู้ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ทั้งหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการด้านความสอดคล้องกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ด้านความสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร และด้านความเป็นไปได้ของโครงการและกิจกรรมในโครงการ ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น
ครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยเบื้องด้น และวิธีดำเนินงานตามโครงการนิเทศแบบ ร่วมมือรวมพลัง ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ
คณะกรรมการนิเทศติดตามและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตามโครงการนิเทศ แบบร่วมมือรวมพลัง ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีความเห็นว่า กระบวนการในการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ ระหว่างดำเนินการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อสิ้นสุดโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4. ด้านผลผลิต
4.1 ผลผลิตของโครงการทำให้องค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ครูผู้สอนพัฒนาคุณภาพมากขึ้น นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ทีดีขึ้น มีเจตคติทีดีต่อการสอนของครู ครูผู้สอนมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการนิเทศแบบร่วมมือรวมพลัง อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ระหว่างก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ พบว่า หลังดำเนินโครงการ การพัฒนามีคุณภาพสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^