LASTEST NEWS

09 พ.ย. 2567วิทยาลัยการอาชีพปราสาท รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-26 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรม รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 14-20 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-29 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 14-20 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-22 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-22 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ รับสมัครพนักงานราชการครู วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 25-29 พ.ย.2567 08 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่ 8 - 14 พฤศจิกายน 2567 08 พ.ย. 2567“สพฐ. ประชุม ผอ.เขตพื้นที่ พร้อมเปิดตัว “OBEC Zero Dropout” เพื่อเด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างถ้วนหน้า” 08 พ.ย. 2567รวมข่าว..เปิดสอบพนักงานราชการครู 91 อัตรา สังกัด สพฐ. วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท

รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมในโรงเรียนป

usericon

รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

สุรภานุพงศ์ สุนทรา ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านดอนก่อกกเหลี่ยม สพป.มหาสารคาม เขต 1
หลักการและวัตถุประสงค์ ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เป็นกระบวนการคิดค้นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการออกแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อและเทคโนโลยีรวมถึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม สร้างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม และทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม
วิธีการศึกษา การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ขั้น คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม และ 3) การทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง ประชากรศึกษาเป็นครูโรงเรียนบ้านดอนก่อกกเหลี่ยม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม แบบทดสอบ แบบประเมินครูเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม แบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Mann-Whitney U Test
ผลการวิจัย: 1) ครูผู้สอนมีสภาพปัจจุบันด้านทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ปัญหา และความต้องการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม แบ่งเป็น 5 ขั้น คือ ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการพัฒนา ออกแบบวิธีการพัฒนา ดำเนินการพัฒนา ประเมินผลการพัฒนา และสะท้อนผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีความเหมาะสมและสอดคล้องเชิงโครงสร้าง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ครูมีความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม หลังการพัฒนาเพิ่มขึ้น (p = .038) ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยรวมจากการประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา ประเมินตนเอง และประเมินโดยผู้เรียน และความพึงพอใจต่อรูปแบบฯโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุป: การนำรูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาครูส่งผลให้ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนา, การพัฒนาครู, ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม


THE SYNTHESIS OF TEACHERS’ DEVELOPMENTAL MODEL FOR PROMOTE INNOVATIVE THINKING SKILLS IN SMALL SCHOOLS MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 1

Surapanipong Suntra, School Director
Donkokoklheam School, Office of Mahasakham Primary Education Service 1
Research and Objectives: Innovative thinking skills is the process of inventing new things about design, learning management activity arrangement use of media and technology, including measurement and evaluation of learning to solve problems and develop learners to achieve effective learning and maximum effectiveness. The purpose of this research were to study the present situation, problems and need assessment to develop innovative thinking skills, To create a model for development of, innovative thinking skills, and trial of model and evaluation using the teacher's model.
Methods: This research and development were divided into 3 stages: 1) studying current situation, problems and needs assessment for teacher development in order to promote innovative thinking skills 2) creating teacher development model to promote innovative thinking skills and 3 ) trial and evaluation of the use of teacher development model to promote innovative thinking skills by using a single group experiment model, measuring before - after the population of the study was 7 teachers of Ban Donkokoklheam School from purposive sampling. The instruments used in the research consisted of teacher development model to promote innovative thinking skills, teacher evaluation form to promote innovative thinking skills. Assessment form for innovative thinking skills and satisfaction measure. The statistics use for analysis data were by frequency, percentage, standard deviation and for testing hypotheses the Mann-Whitney U Test.
Results: The results of this study showed that: 1) Teachers had a current state of innovative thinking skills, problems and needs assesment for developing teachers' innovative thinking skills. Overall, at a high level.    2) The development model of teacher's innovative thinking skills were divided 5 stages: exploration and analysis of development needs, design and development planning, implementation, supervision, monitoring and evaluation, and exchange of learning / reflection and reflection, and appropriate and structured. Overall, at the highest level, and 3) Teachers were knowledgeable about innovative thinking skills after development (p = .038). The performance of innovative thinking skills plan was at a high level, performance of innovative thinking skills as a whole were assessed by school director, self-assessments, and assessments by learners, at the highest level and satisfaction with the development model of innovative thinking skills. Overall, at the highest level.
Summary: Applying the model for developing innovative thinking skills to be used in teacher development results in teachers having the skills to manage learning and develop learners to achieve effective learning in accordance with learning in the 21st century
Keyword: Developmental of model, Teacher Development, Innovative Thinking Skills
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^