นางสาวทิพวัลย์ พงค์ดา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี)
ผู้ศึกษา นางสาวทิพวัลย์ พงค์ดา
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่นะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแม่นะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) จำนวน 22 แผน ใช้เวลาแผนละ 1 ชั่วโมง รวม 22 ชั่วโมง (รวมเวลาทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test)) ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 2561 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2562 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัย (Multiple Choices) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - test) และหลังเรียน (Post - test) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหาประสิทธิภาพประสิทธิผลทางการเรียน 3) ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) จำนวน 6 เล่ม 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1) ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 91.18/91.14 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เท่ากับ 0.7537 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 75.37
3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ก่อนเรียน (Pre-test) มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 19.21 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 27.34 เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนสอบทั้งสองครั้งพบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) อยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = 0.49 )
โดยสรุปผลการใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) สามารถช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในการปฏิบัติขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้นดีขึ้น จึงขอเสนอให้ครูที่สอนวิชาดนตรีใช้เป็นสื่อหรือนวัตกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะปฏิบัติเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมกระบวนการปฏิบัติขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี