การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย : นายสัญญา สำเภา
หน่วยงาน : โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2559 - 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบสอบถามปัญหาและความต้องการในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบวัดสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 7) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าที (t-test dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้
1.1 สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า
1.1.1 สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวม ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า เน้นการสอนให้นักเรียนจำสูตร หลักการ และวิธีการ ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ สอนโดยยึดเนื้อหาเป็นสำคัญ และพยายามสอนให้จบเนื้อหา ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
1.1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวมมีปัญหามาก ได้แก่ ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ครูขาดการนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ ครูขาดการพัฒนาเทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน โดยภาพรวมมีปัญหาในระดับมาก ได้แก่ นักเรียน มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต่ำ นักเรียนมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน และนักเรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดแก้ปัญหา สรุปความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดแบบองค์รวม
1.1.3 ความต้องการของครูในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูต้องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่ทันสมัย ต้องการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหัวข้อใหม่ ๆ อย่างหลากหลาย โดยเน้นให้สามารถนำไปใช้ได้จริง และต้องการจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีภาระงานอื่น
1.1.4 ข้อเสนอแนะของครูผู้สอนในการแก้ปัญหาจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
เสนอว่า ครูควรใช้นวัตกรรมการสอนทั้ง สื่อและเทคนิคการสอนประกอบการสอน เพื่อให้นักเรียนสนใจ เข้าใจในหน่วยการเรียน สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ครูควรใช้นวัตกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียน นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันเรียนรู้ด้วยกันได้ และจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง การใช้และผลิตสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิธีเลือกใช้สื่อให้เหมาะกับวิชา การใช้สื่อที่หาง่ายในท้องถิ่น
1.2 ปัญหาและความต้องการในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
1.2.1 ปัญหาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้แก่ มีพื้นฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ต่ำ เรียนคณิตศาสตร์ไม่รู้เรื่อง และทำให้เรียนไม่ทันเพื่อนที่เรียนเก่ง โดยเฉพาะเรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เป็นเรื่องที่ยาก ไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ และครูจัดกิจกรรม ที่เน้นเนื้อหา ไม่ให้นักเรียนร่วมกิจกรรมกลุ่ม และไม่อนุญาตให้สอบถามเพื่อนเมื่อไม่เข้าใจหรือมีปัญหา
1.2.2 ความต้องการของนักเรียนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข โดยเสนอว่าครูควรมีสื่อการสอนที่หลากหลายเพื่ออธิบายเนื้อหาวิชาให้เข้าใจ ครูควรจัดกิจกรรมกลุ่มให้เพื่อนที่เรียนเก่งได้ช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนอ่อน และครูควรมีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายมากกว่านี้ สอนให้สนุกสนานและไม่น่าเบื่อหน่าย
1.3 การทดสอบวัดสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ความสามารถในการคิดคำนวณ ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสามารถในการแก้ปัญหา
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 80.89/80.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด