การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
A DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON PROBLEM-BASED LEARNING BY USING SUFFICIENCY ECONOMY INSTRUCTIONAL MODEL
TO ENHANCE CREATIVE PROBLEM SOLVING SKILLS ON LIVING THINGS
AND ENVIRONMENTS LESSON FOR PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS
ศณิตตา โกกลางดอน1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 3) ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 4) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดป่าจิตตสามัคคี) สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา จากการเลือกแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน จำนวน17 คน ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์5)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมกลุ่มเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างแท้จริง2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 81.06/82.53 3) ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ครูมีบทบาทหน้าที่ในการให้คำแนะนำปรึกษา ทำกิจกรรมตามใบงานได้อย่างถูกต้อง 4) ผลการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 78.82 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 80.29 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีประสิทธิภาพของกระบวนการ 80.29 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีประสิทธิภาพ 81.57 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์,สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม