LASTEST NEWS

30 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ รับสมัครพนักงานราชการครู ตั้งแต่ 11-27 ธันวาคม 2567 30 พ.ย. 2567กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 129 อัตรา วุฒิ ม.3, ม.6, ปวช. ปวส. ขึ้นไป สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567 30 พ.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู 7 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท และพนักงานธุรการ 1 อัตรา เงินเดือน 13,800.-บาท ระหว่างวันที่ 6 - 12 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาแก้วประชารัฐ รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก (ยกเว้น ปฐมวัย) เงินเดือน 8,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 ธันวาคม 2567 30 พ.ย. 2567สพฐ. พร้อมเปิดพื้นที่โรงเรียน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ 30 พ.ย. 2567เปิดรายละเอียด! ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ และปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลผกระทบของพนักงานราชการ (มติ ครม. 29 พ.ย.2567) 30 พ.ย. 2567สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 รับสมัครพนักงานราชการครู และพนักงานราชการพี่เลี้ยง ทั้งหมด 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-13 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2567 29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียน
            เป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) เทศบาลเมือง
            นราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ผู้วิจัย         วรนุช แซ่เดี่ยว ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
            โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) เทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ปีที่ศึกษา         ๒๕๖๐
บทคัดย่อ

    ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านบาเละฮิเล) โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา จำนวน 47 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารเทศบาลเมือง นราธิวาส ครูปฏิบัติการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 12 คน และนักวิชาการศึกษานิเทศก์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการ
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความต้องการและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) จากการวิจัยสรุปผลการวิจัยได้ต่อไปนี้
    1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันความต้องการและแนวทางของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) พบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับปานกลาง (π =2.92) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (π =4.54) โดยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา ความต้องการและแนวทางในการจัดการเรียนรู้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552 - 2561) การเรียนรู้ตลอดชีวิตเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แนวทางที่ควรจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในโรงเรียนต้องเป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจและจะต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด โดยโรงเรียนจะจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และควรกำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรหรือแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
    จากการสังเคราะห์องค์ประกอบหลักเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากการศึกษาในขั้นที่ 1-3 มาสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ดังนี้
        องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา
        องค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
        องค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และ
        องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากแหล่งเรียนรู้
    2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 8 แนวทาง 48 รายการ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยรายวิชาเพิ่มเติมมี 6 รายการแนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยกิจกรรมชุมนุมกลุ่มสนใจมี 13 รายการองค์ประกอบที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากเทคโนโลยีสารสนเทศ แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมี 2 รายการ
แนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษามี 2 รายการองค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมการอบรมระยะสั้นมี 7 รายการ แนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมค่ายวิชาการมี 4 รายการแนวทางที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากกิจกรรมเสริมหลักสูตรมี 5 รายการองค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยการเรียนจากแหล่งเรียนรู้ แนวทางที่ 1 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมี 5 รายการแนวทางที่ 2 การจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจากแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนมี 4 รายการ การสร้างคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้ 1 หลักการและเหตุผล 2 วัตถุประสงค์ 3 ข้อจำกัดในการนำคู่มือไปใช้ 4 วิธีดำเนินการตามรูปแบบ 5 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ 6 บรรณานุกรม 7 ภาคผนวก ผลการประเมินคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียน เป็นฐาน ของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮีเลสรุปได้ดังนี้ 1 คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮีเลที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับหลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตลอดชีวิตและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542
2 โครงร่างของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลมีความเหมาะสมชัดเจนแต่ควรลดกิจกรรมในแต่ละรูปแบบและเขียนคำอธิบายการดำเนินการให้ชัดเจน 3 โครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนได้เนื่องจาก เป็นรูปแบบที่ได้เรียนรู้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง เรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเองมีกิจกรรมหรือการเรียนรู้ ให้นักเรียนเลือกเรียนหลากหลายและมีประโยชน์กับครูเนื่องจากครูได้มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงานขึ้นอยู่กับบริบทและการบริหารของโรงเรียน 4 องค์ประกอบและกิจกรรมในรูปแบบนั้นมีเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมไม่ควรมีมากกว่านี้เพราะจะทำให้เป็นภาระในการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
3 ผลการทดลองใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลมีดังนี้ 3.1 ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครูปฏิบัติการ 2 ระดับ ชั้นมัธยม ศึกษา ปีที่ 1-3 ของโรงเรียน เทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ/ เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด (π =4.53) 3.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านบาเละฮิเล)พบว่าความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลโดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด(π=4.55)
4 ผลการนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านบาเละฮิเล)ผู้วิจัยได้ดำเนินการประชาพิจารณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนและศึกษาความคิดเห็นผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านบาเละฮิเลพบว่าโดยภาพรวมเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการจัดบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด (π=4.70)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^