LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning)

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย     รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิด        เชิงนวัตกรรมของโรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
        นคราชสีมา
ชื่อผู้วิจัย    นายกฤชณรงค์ กองคำ
ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน    โรงเรียนพระทองคำวิทยา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
        สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา    2561

บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อสำรวจสังเคราะห์ สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม (3) เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม
ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครู 24 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน นักเรียน 150 คน และผู้ปกครอง 150 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ระยะที่ 1 ใช้แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม แบบสอบถาม ระยะที่ 2 มีการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 3 ใช้แบบสอบถามการทดลองใช้ ระยะที่ 4 แบบประเมินคุณภาพและแบบประเมินสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม และแบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม
ผลการวิจัย มีดังนี้
1.    ระยะที่ 1 การศึกษาเอกสารได้หลักการรูปแบบพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active
learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) ด้านการบริหารจัดการ (2) การพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม และ (3) ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหา โดยใช้แบบสอบถามความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม จากนั้นได้สำรวจ สภาพปัจจุบันของปัญหา พบว่า การพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย ส่วนความต้องการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก
2.    ระยะที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active
learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม ได้ระบบฉบับร่าง ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการบริหาร 7S มี 7 ตัวชี้วัด องค์ประกอบด้านการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม มี 12 ตัวชี้วัด องค์ประกอบด้านที่ 3 ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 9S มี 11 ตัวชี้วัด จากการวิจัยพบว่า ทุกขั้น ทุกข้อผ่านเกณฑ์ ระดับมาก
3.    ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active
learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่า ในภาพรวมผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน
4.    ระยะที่ 4 ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active
Learning ) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่า ระบบที่พัฒนามีประโยชน์และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ใน ระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning)
เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม ทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรม ที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาได้เป็นอย่างดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^