LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

การบริหารเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย

usericon

ชื่อเรื่อง การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
ผู้ศึกษาค้นคว้า นายเธียนไท คำล้าน
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
ปี พ.ศ. 2561

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยใช้กระบวนการการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการตามแผน (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) และ ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ โดยในวงรอบที่ 1 ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การเพิ่มอำนาจในการทำงาน ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การประชุมเชิงปฏิบัติการ (มอบหมายศึกษานิเทศก์),การนิเทศภายใน (มอบหมายผู้บริหารสถานศึกษา) 2)การศึกษาดูงาน 3)การนิเทศติดตามผลด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะส่วนในวงรอบที่ 2 ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา 1 กลยุทธ์ ได้แก่ การนิเทศติดตามผลด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะโดยมี กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย ผู้ศึกษาค้นคว้า และบุคลากรที่สมัครใจเข้าร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 201 คน ได้แก่ 1) ผู้ศึกษาค้นคว้า จำนวน 1 คน ได้แก่ นายเธียนไท คำล้าน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) ครูปฐมวัยจากโรงเรียนที่สมัครใจร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 37 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 1 คน ) เป็นครูปฐมวัยกลุ่มเป้าหมาย 3) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 37 คน (จาก 37 โรงเรียน) เป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 4) ศึกษานิเทศก์ จำนวน 15 คน 5) เครือข่ายชุมชน จำนวน 111 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 3 คน) และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Key Informants) จำนวน 629 คน ได้แก่ 1) ครูวิชาการ จำนวน 37 คน (จาก 37 โรงเรียน) เป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 2) ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 185 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 5 คน ) 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 185 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 5 คน ) 4) เด็กปฐมวัย จำนวน 222 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 6 คน )
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนามี 1 ชนิด ได้แก่ ได้แก่ คู่มือแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
มี 5 ชนิด ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม และแบบประเมิน การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


    ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ดำเนินการ ๒ วงรอบ สรุปผลการศึกษาทั้ง 2 วงรอบ ได้ดังนี้
        1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 พบว่า สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด สามอันดับแรกคือ การสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม ( = 4.01) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ( = 4.01) การบูรณาการการเรียนรู้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ( = 3.79) การจัดประสบการณ์การเรียนที่ส่งเสริมพัฒนาการ ( = 3.66) และด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การประเมินพัฒนาการ( = 3.46)
ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ การจัดประสบการณ์การเรียนที่ส่งเสริมพัฒนาการ ( = 4.97) การบูรณาการการเรียนรู้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ( = 4.96) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ( = 4.83) การประเมินพัฒนาการ ( = 4.82) และด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ การประเมินพัฒนาการ และการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม ( = 4.82)
2. แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 พบว่า แนวทางการดำเนินการบริหารจัดการเชื่อมโยงบทบาทของกลุ่มบุคคล ภายใต้ความต้องการในวัตถุประสงค์ร่วมกันมีการปฏิบัติงานหรือเชื่อมโยง การทำงานในลักษณะการมีส่วนร่วม สร้างความร่วมมือ ประสานงานกันโดยร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมตัดสินใจให้ความช่วยเหลือแบ่งปันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 2 ให้เป็นองค์กรแห่งคุณภาพด้วยการบริหารสู่การบริการที่ เป็นเลิศที่ผู้ศึกษาค้นคว้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ซึ่งมีกระบวนการดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายความร่วมมือ 4 ขั้นตอน ดังนี้
๒.1 ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและสร้างข้อตกลงร่วม เป็นขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือในการประชุมวางแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและร่วมแสดง ความคิดเห็นร่วมในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ การบูรณาการการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และการประเมินพัฒนาการ
๒.2 ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติงานตามแผนงานข้อตกลงร่วม เป็นขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ การบูรณาการ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินพัฒนาการ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการตามความเหมาะสม และสถานศึกษาสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและหน่วยงานภายนอก
๒.3 ขั้นตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย ความร่วมมือใการจัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนและตระหนักถึงคุณค่าของตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกับครูให้ประสบความสำเร็จโดยสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการและเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดกิจกรรม
๒.4 ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือในการประเมินผลการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา เช่น หลักสูตรท้องถิ่นใน การติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงานร่วมกับครูผู้สอนในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ การบูรณาการ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินพัฒนาการ โดยมีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและรายงานผลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ผลการใช้แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ดังนี้
๓.1 ผลการทดสอบก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า
๓.๑.๑ ผลการทดสอบก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และการจัดการศึกษาปฐมวัยด้วยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์การผ่านการทดสอบคือ 10 คะแนน พบว่า ผลการทดสอบก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครูปฐมวัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 37 คน มีคะแนนเฉลี่ย 10.65 คิดเป็นร้อยละ 53.24 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.25 ผลการทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครูปฐมวัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ย 18.81 คิดเป็นร้อยละ 94.05 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.05 จะเห็นได้ว่า คะแนนทดสอบก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการของ ครูปฐมวัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 28 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 9 คน คะแนนทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการของครูปฐมวัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ทั้ง 37 คน หากพิจารณาคะแนนเฉลี่ยร้อยละหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อน การประชุมเชิงปฏิบัติการ
๓.๑.๒ ผลการทดสอบก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า 199 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 159 คน มีคะแนนเฉลี่ย 11.30 คิดเป็นร้อยละ 70.69 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.92 และไม่ผ่านการทดสอบ จำนวน 40 คน มีคะแนนเฉลี่ย 7.45 คิดเป็นร้อยละ 37.25 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.08 ผลการทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า 199 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 199 คน มีคะแนนเฉลี่ย 18.02 คิดเป็นร้อยละ 90.09 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.60 จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทั้ง 199 คน
๓.2 ผลการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ที่เป็นแบบอย่างได้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า จากการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีวิธปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า กลุ่มเครือข่ายความร่วมมือทุกกลุ่มจะนำองค์ความรู้มาปรับใช้กับสถานศึกษาของตนเอง โดยจะนำส่วนที่เป็นจุดเด่นและความสำเร็จมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยเฉพาะในด้านเครือข่ายความร่วมมือ ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ 1) สร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม 2) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ 4) การบูรณาการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5) การประเมินพัฒนาการและสิ่งที่ได้เพิ่มเติมจากการศึกษาการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ได้แก่ การร่วมชื่นชมโดยมีแนวทางดำเนนิการ ได้แก่ 1) จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ ผลงานครู,เด็กปฐมวัยและสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะชน 2) จัดนิทรรศการผลงานครู,เด็กปฐมวัยและสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือ 3) มอบเกียรติบัตร,โล่รางวัลแก่ผลงานครู,เด็กปฐมวัยและสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือ ที่เป็นแบบอย่างที่ดี
๓.3 ความพึงพอใจของครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิค การนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ดังนี้
๓.๓.๑ ความพึงพอใจของครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านนิเทศด้วยเทคนิคแบบชี้แนะ (Coaching) ( = 4.92) รองลงมา ได้แก่ ด้านวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) ( = 4.89) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ( = 4.56)
๓.๓.๒ ความพึงพอใจของของครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) ( = 4.95) รองลงมา ได้แก่ ด้านนิเทศด้วยเทคนิคแบบชี้แนะ (Coaching) ( = 4.94) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ( = 4.92)
๓.๓.๓ ความพึงพอใจของของครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ทั้ง 2 วงรอบโดยรวมเฉลี่ยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.๘๖)
๓.๔ ผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายในการร่วมกิจกรรมการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน พบว่า พัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 2.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านอารมณ์ จิตใจ ( = 2.76) ด้านร่างกาย ( = 2.65) ด้านสังคม ( = 2.64) ด้านสติปัญญา ( = 2.54) ตามลำดับ
สรุปผลการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ ส่งผลพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ คุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู คุณภาพสถานศึกษา คุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคุณภาพชุมชน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^