การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพี
โรงเรียนเทศบาลทุ่งหลวง 1 (บ้านโคกมะพร้าว)
ชื่อผู้ประเมิน นายอรุณ เรือนเพ็ชร
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลทุ่งหลวง 1 (บ้านโคกมะพร้าว)
ปีที่ประเมิน 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาลทุ่งหลวง 1 (บ้านโคกมะพร้าว) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับระดับความต้องการจำเป็น และระดับความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับระดับความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ และระดับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการและการติดตามโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทักษะตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ปริมาณผลผลิต รายได้ เงินออม และความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและครู โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 242 คน ประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 14 คน นักเรียน จำนวน 113 คน ผู้ปกครอง จำนวน 108 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน จำนวน 7 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง จากประชากรตามตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 12 ฉบับ ซึ่งผู้ประเมินสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
1. บริบทของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลของตัวชี้วัด 2 ตัวชี้วัด เป็นดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลของตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด เป็นดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของบุคลากร อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.2 ความเหมาะสมของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.3 ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. กระบวนการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลของตัวชี้วัด 2 ตัวชี้วัด เป็นดังนี้
3.1 กิจกรรมที่ดำเนินการ อยู่ในระดับร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.2 การติดตามโครงการ อยู่ในระดับร้อยละ 70 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลของตัวชี้วัด 8 ตัวชี้วัด เป็นดังนี้
4.1 นักเรียนที่มีความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง อยู่ในระดับร้อยละ 88.00 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 นักเรียนที่มีทักษะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับร้อยละ 89.87 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ประมาณผลผลิตที่ได้ อยู่ในระดับ 230 กิโลกรัม ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 รายได้ของโครงการ อยู่ในระดับ 8,986 บาท ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 นักเรียนที่มีเงินออม อยู่ในระดับร้อยละ 91.00 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.7 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.8 ความพึงพอใจของครู อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
จากผลการประเมินตัวชี้วัดและประเด็นการประเมินดังกล่าว ทำให้ผลการประเมินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. การติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและนำบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการด้วย
2. ควรนำบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการ ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาที่เป็นต้นแบบของการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหารจัดการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจะได้นำความรู้มาพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสูดในการดำเนินงาน