การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD)
ผู้วิจัย : นิตยา สุวรรณมณี
ปีที่วิจัย : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (Inquiry Cycle) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (Inquiry Cycle) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (Inquiry Cycle) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้การจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (Inquiry Cycle) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 37 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เป็นเวลา 14 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ One – Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t – test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (STAD) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (Inquiry Cycle) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PTPES Model โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PTPES Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (Preparation: P) ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (Teaching: T) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะ (Practicing: P) ขั้นที่ 4 ขั้นวัดและประเมินผล (Evaluation: E) และขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Summarizing: S) โดยความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model) มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในระดับมาก
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (Inquiry Cycle) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และก่อนเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ (PTPES Model) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (Inquiry Cycle) มีคะแนนเฉลี่ยรวม ( ) เท่ากับ 3.88 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 70 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การพิจารณาระดับความพึงพอใจ แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E (Inquiry Cycle) อยู่ระดับมาก