การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ป.3
หารระคน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางนันทิตา กลิ่นรอด
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลวัดทรงธรรม สังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya เพื่อใช้ประกอบชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 17 แผน 3)แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.36 – 0.59 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22 - 0.58 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1/E2 และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t – test (Dependent samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.29/81.90 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Polya โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =2.74, S.D.=0.28)