รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมว
ชั้นอนุบาลปีที่ 3
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านโปร่งสำราญ ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
ผู้ศึกษา นางสาวทัศวรรณ โสภากุล
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญา
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านโปร่งสำราญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 จำนวน 16 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling )
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม รวมใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 13 สัปดาห์ 1 วัน จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมจำนวน 40 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที จากวันที่ 12 มิถุนายน 2560 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent)
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. การประเมินความสามารถทางพหุปัญญาเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้แบบประเมิน การพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรม พบว่า โดยรวมเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีคะแนนความสามารถทางพหุปัญญาอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.88 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีคะแนนความสามารถทางพหุปัญญาอยู่ในระดับดีทุกครั้ง แสดงว่าเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาเพิ่มขึ้นหลังการใช้ชุดกิจกรรม
2. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาโดยใช้
ชุดกิจกรรม โดยรวมก่อนการใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับพอใช้ มีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.14 และ
โดยรวมหลังการใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.88 แสดงว่า เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลการพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาหลังการใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการใช้
ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้