การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติว
ผู้วิจัย นางสาวศิรินันท์ สุวรรณมุสิก
สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อ ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริกที่ได้พัฒนาขึ้นการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 501 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราชรวมจำนวน36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ บันทึกการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนบันทึกการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมบันทึกการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาแบบสำรวจข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และแบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่มของครูผู้สอนวิชาชีววิทยาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือค่าร้อยละ(X ̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าความเที่ยงตรงของแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้สูตรการหาค่าดัชนีค่าความสอดคล้อง Index of Objective Congruence (IOC) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่502 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราชจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีดังนี้คือ แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้และความสอดคล้องของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและแบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่มเพื่อสรุปผลการทดลองและปรับปรุงแก้ไขการเก็บรวบรวมข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้คือ พัฒนาร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนำร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไปตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จากนั้นจึงนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนาและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติ คือ หาค่าร้อยละ (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และการค่าความเที่ยงตรงของแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้สูตรดัชนีค่าความสอดคล้อง Index of Objective Congruence (IOC)มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาแบบอิงเกณฑ์ โดยใช้สูตร B (Discrimination Index B)ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบอิงเกณฑ์ โดยวิธีของ Lovett การหาค่าอำนาจรายข้อของแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยวิธี Item Total correlation คือ การหาค่า rxyการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งฉบับด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-coefficient) ตามวิธีของครอนบาคขั้นตอนที่ 3การนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไปใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 504 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราชที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560รวมจำนวน36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีดังนี้คือแผนการจัดการเรียนการรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการวิจัยใช้รูปแบบหนึ่งต่อหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังเรียน (One-group pretest-Posttest Design) โดยทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนทักษะการแก้ปัญหา เรื่องระบบประสาท วิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบการแจกแจงของข้อมูลว่าเป็นการแจกแจงปกติ (Normal Distribution) พบว่าการแจกแจงข้อมูลไม่เป็นโค้งปกติ จึงใช้สถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric Statistics) คือ Wilcoxon Signed Ranks Testขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 504 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราชที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560รวมจำนวน36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีดังนี้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและบันทึกการสนทนากลุ่มกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างและครูผู้สังเกตการสอนเพื่อประเมินผลและแสดงความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนการเก็บรวบรวมข้อมูลคือศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทำการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน และประมวลผลข้อมูลเพื่อพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้มีเหมาะสมมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะนำไปเผยแพร่ผลงานต่อไปค่าสถิติที่ใช้คือ หาค่าร้อยละ (X ̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการวิจัย
1.ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริกได้พัฒนามาจากผลจากการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม (Constructivism Learning Theory) พบว่า การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม ครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์/ขั้นตอนในการเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยนำเอาความรู้ใหม่และความรู้เดิมมาผสมผสานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรียนแบบร่วมมือกับสมาชิกในกลุ่มสร้างสรรค์ผลงาน สามารถนำเสนอได้ มีการวัดและประเมินผลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสร้างความคิดรวบยอดใหม่ โดยมีความรู้ปัจจุบัน และความรู้ในอดีตเป็นฐาน การเรียนรู้เรื่องใหม่ ผู้เรียนสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง จากการได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้น การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริกพบว่าได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของรูปแบบ 4 องค์ประกอบ คือ 2.1)หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน 2.2)วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 2.3)กระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เหตุการณ์ในสื่อออนไลน์ท้าทายความคิดขั้นที่ 2 ร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาขั้นที่ 3 ทดลองทันเวลาหาคำตอบขั้นที่ 4 เห็นชอบร่วมกันสรุปขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ ICT และ 2.4)เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ บทบาทของผู้เรียนและบทบาทของผู้สอนจากผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบการจัด การเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริกโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าความสอดคล้องรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.8-1.0 ความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.8-1.0 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ทั้งนี้เนื่องมาจากการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ดำเนินการโดยการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
3. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบ การจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริกพบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบประสาท วิชาชีววิทยา โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ข้อที่ 1 โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยหลังการทดลอง (X ̅ = 24.97, S.D. = 0.33) ซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลอง (X ̅ = 20.64, S.D. = 0.45)ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่วางไว้
3.2 ผลการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริกพบว่าคะแนนทักษะการแก้ปัญหาทางการเรียน เรื่องระบบประสาท วิชาชีววิทยา โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ข้อที่ 1 โดยมีคะแนนทักษะการแก้ปัญหาเฉลี่ยหลังการทดลอง (X ̅ = 24.33, S.D. = 0.49) ซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลอง (X ̅ = 20.83, S.D. = 0.48)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริกที่ได้พัฒนาขึ้น พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้าง มโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (X ̅=4.55, S.D.= 0.69) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาค่าระดับความพึงพอใจเป็นรายด้านพบ ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ในด้านประโยชน์และความพึงพอใจที่ได้รับ มากเป็นลำดับแรก (X ̅=4.64, S.D.=0.64) ลำดับรองลงมา ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อประกอบรูปแบบ (X ̅=4.60, S.D.=0.66) ลำดับที่สาม ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหาสาระ (X ̅=4.56, S.D.=0.64) และลำดับสุดท้าย ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบ (X ̅=4.46, S.D.=0.75)