การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านทักษะ
ด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย อมร ทองมูล
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ที่กาลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดสานักการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี จานวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะ ในการเล่นกีฬาฟุตซอล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต้องทาให้ผู้เรียนมีคุณภาพ มีทักษะที่จาเป็นตามหลักสูตร มีความรู้ คุณธรรม และมีจริยธรรมในการดารงชีวิต ทุกคนต้องมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด เนื้อหาที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรน่าสนใจ กิจกรรมการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติ มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน สิ่งแวดล้อม สามารถนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ และนาทักษะที่มีไปใช้ประกอบอาชีพได้ในอนาคต
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ได้รูปแบบการเรียนการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า AEMPR Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวิเคราะห์ทักษะ (Analyze : A) 2) ขั้นอธิบายและสาธิตทักษะ (Explain and Demonstrate : E) 3) ขั้นการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง (Manipulation : M) 4) ขั้นการ
ปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างอิสระ (Precision : P) และ 5) ขั้นการเสริมแรง (Reinforcement : R) และเมื่อนาไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3เท่ากับ 82.72/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ คือ 80/80
3. ความสามารถด้านทักษะในการเล่นกีฬาฟุตซอลของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนาแผนการจัดการเรียนรู้จานวน 15 แผน จานวน 15 ชั่วโมง ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่เรียกว่า AEMPR Model โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเดียว วัดหลังการทดลองเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านทักษะในการเล่นกีฬาฟุตซอล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม 40 คะแนน จานวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 93.54 ของจานวนนักเรียนทั้งหมด ตรงกับสมมติฐานข้อที่ 1
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตรงกับสมมติฐานข้อที่ 2