LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารวิชาการโรงเรียนบัวน้อยวิทยา สพม.28

usericon

บทคัดย่อ
    การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารวิชาการโรงเรียนบัวน้อยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารวิชาการของโรงเรียนบัวน้อยวิทยา ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารวิชาการโรงเรียนบัวน้อยวิทยา ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงร่างรูปแบบการบริหารวิชาการให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน องค์ประกอบ ความต้องการ และความจำเป็น และยกร่างรูปแบบ และประเมินความเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารวิชาการโรงเรียนบัวน้อยวิทยากับกลุ่มเป้าหมายนักเรียน 89 คน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารวิชาการโรงเรียนบัวน้อย และความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน
     กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และ นักเรียนโรงเรียนบัวน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน โดยการจำแนกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม 1) ครูที่ปฏิบัติหน้าที่การสอน ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน 2 ) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบัวน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 89 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 12 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 9 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 89 คน รวม 110 คน โดยการเลือกสุ่มอย่างง่าย จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารวิชาการของโรงเรียนบัวน้อยวิทยา เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.63 - 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 2) แบบประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารวิชาการของโรงเรียนบัวน้อยวิทยา เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.63 - 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 3) แบบรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน4) แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
     1) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารวิชาการโรงเรียนบัวน้อยวิทยา โดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.49) โดยด้านปัจจัยนำ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.54) ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.53) และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด
        2) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนบัวน้อยวิทยา โดยใช้ BUANOI TEAM Model โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.47 ,SD.= 0.66)
        3) ผลการใช้รูปแบบการบริหารวิชาการของโรงเรียนบัวน้อยวิทยาโดยใช้ BUANOI TEAM Model ปรากฏดังนี้
            3.1) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารวิชาการของโรงเรียนบัวน้อยวิทยา ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.50 ,SD. = 0.68)
        3.2) ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(O-net) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 เฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ จำนวน 2 วิชา
3.3 ) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ สูงกว่าค่าเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^