LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

การประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้ประเมิน : นายธงชัย เหมเกียรติกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่รายงาน : 2560

บทคัดย่อ

    การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานการประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น(Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation) และ4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการประเมินกับประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 60 คนนักเรียน จำนวน 292 คน รวมทั้งสิ้น 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสรุปข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนตามโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และฉบับ 4 แบบสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
    ผลการประเมิน พบว่า
    1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ได้กำหนดหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 รองลงมา ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ ได้กำหนดหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
        2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมรองลงมา คู่มือดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ มีรายละเอียดชัดเจน และความรู้และความเหมาะสมของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
        3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
     3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ โรงเรียนได้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ รองลงมา บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน และโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
     3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ได้แก่ ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ รองลงมา ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
         3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ได้แก่ นักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และ การดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ รองลงมา นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และนักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

    4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ
     4.1 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
     ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมีส่วนช่วยให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเห็นหรือพฤติกรรมของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้น รองลงมา โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทำให้นักเรียนรู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ช่วยพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียน และโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทำให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง โครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ช่วยเสริมความสามัคคีให้แก่นักเรียน และโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริมีส่วนช่วยให้นักเรียนได้ข้อคิดจากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
         ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา กิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมฐานตามรอยพ่อ พออยู่ พอกิน และพอเพียง
        4.2 ด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา นักเรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบที่หลากหลาย และครูมีความรู้ ความเข้าใจสามารถให้คำปรึกษาและชี้แนะเกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ โรงเรียนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามนโยบายของโรงเรียน รองลงมา เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากกิจกรรมต่างๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ครูมีความรู้ ความเข้าใจสามารถให้คำปรึกษาและชี้แนะเกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกิจกรรมการเรียน การสอนที่เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโรงเรียนนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการนับเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสืบสานงานพระราชดำริ โรงเรียนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        5. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ในปีการศึกษา 2560 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 94.80 ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 1 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100.00 โดยเพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา 2560 ร้อยละ 5.20
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^