เผยเเพร่ผลงานทางวิชาการ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการสอนแบบปฏิบัติการ โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s sketchpad (GSP) เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้
ผู้วิจัยนางวงเดือน วงษ์รัตนะ
ปีที่วิจัย2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการสอนแบบปฏิบัติการ 2) ศึกษาความสามารถในทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหาและด้านการให้เหตุผล ด้วยวิธีการสอนแบบปฏิบัติการ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อวิธีการสอนแบบปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสกลทวาปี ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติการ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติการ จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินความสามารถในทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อวิธีการสอนแบบปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีผลการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้
2. นักเรียนมีความสามารถในทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีโดย
ความสามารถด้านการแก้ปัญหามีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และด้านการให้เหตุผลมีคะแนนเฉลี่ยต่ำลงมาตามลำดับ
3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติการ อยู่ใน
ระดับมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านครูผู้สอน ด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ส่วนด้านการวัดและประเมินผลนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง