นายไพรมณี โสภาไฮ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ผู้วิจัย นายไพรมณี โสภาไฮ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด)
สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม ร่วมมือเทคนิคTAI ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการ เรียนรู้ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของ การวิจัย 1)เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานก่อนและหลัง การจัดการ เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 23)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAIและ 4)เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1โรงเรียนเทศบาลหนอง หญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด) จังหวัดร้อยเอ็ด ส านักงานการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จ านวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจ านวน 40 คน ซึ่งเลือก โดยการใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม(Custer Random Sampling) ด้วยการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วย การสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ 1)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI จ านวน 8 ชุด2)คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAIรวมเวลา 18 ชั่วโมงและ 3)แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน30ข้อมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่0.28–0.72มีค่าอ านาจจ าแนกรายข้อ(r) ตั้งแต่0.36–0.71 และค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการทดสอบสมมุติฐานใช้t – test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า ข การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคTAI ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2สรุปผลได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพของกระบวนการ ( 1 E ) เท่ากับ 80.67 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( 2 E ) เท่ากับ 79.92 ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องอัตราส่วนและ ร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีประสิทธิภาพ ( 1 E / 2 E ) เท่ากับ 80.67/79.92ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ก าหนดไว้ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีค่าเท่ากับ 0.6150 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 61.50 4. ความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนกับหลังเรียน 2 สัปดาห์ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วน และร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAIไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05แสดงว่านักเรียนที่เรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีความคงทนในการเรียน จากผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สรุปความคิดรวบยอดจากสิ่งที่พบเห็นและเชื่อมโยงความรู้ส่งผลให้ การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้น จึงควรสนับสนุนส่งเสริมให้ครูนำไปใช้จัดกิจกรรม การเรียนการสอนในระดับชั้นอื่น ๆ หรือในเนื้อหาสาระอื่น ๆ ต่อไป