การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ
ปีการศึกษา 2560
ผู้ประเมิน นายธีรวุฒิ หวาสกุล
ปีที่ประเมิน 2560
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 โดยใช้แบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 3) เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ประกอบด้วย ครูโรงเรียนบ้านสาครเหนือ จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 46 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในภาพรวมสรุปได้ดังนี้
1. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52 , S.D. = .53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 6.โรงเรียนกำหนดนโยบายของโครงการได้อย่างเหมาะสมและชัดเจนสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83 , S.D. = .41) รองลงมา คือ ข้อที่ 3 ปัญหาด้านทักษะการอ่านมีผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนและประสิทธิภาพการทำงานของครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74 , S.D. = .62) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่10. ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพร้อมในการช่วยเหลือกิจกรรมและสนับสนุนโครงการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.45 , S.D. = .17)
2. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45 , S.D. = .18) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 7.การกำหนดขอบข่ายภาระงานของแต่ละกิจกรรมชัดเจนครอบคลุม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63 , S.D. = .58) รองลงมา คือ ข้อที่ 9. ความเหมาะสมและเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 , S.D. = .47) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 4.การดำเนินโครงการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.22 , S.D. = .25)
3. ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ประเมินกระบวนการ ของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43 , S.D. = .62) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 6. กิจกรรมตามโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63 , S.D. = .37) รองลงมา คือ ข้อที่ 9. การจัดกิจกรรมมีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56 , S.D. = .74) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 5. การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.37 , S.D. = .67)
4. ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ประเมินผลผลิต ของโครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43 , S.D. = .45) เมื่อพิจารณาแต่ละกิจกรรม พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ข้อที่ 4 การจัดกิจกรรมหลักสำหรับนักเรียนทุกคนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 , S.D. = .17) รองลงมา คือข้อที่ 6 กิจกรรมสำหรับนักเรียนกลุ่มระดับปรับปรุง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55 , S.D. = .49) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ ที่ 8. กิจกรรมสำหรับนักเรียนกลุ่มระดับดี มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.65 , S.D. = .54)
5. ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ประเมินความพึงพอใจ โครงการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาครเหนือ ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 , S.D. = .45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 5.การกำหนดกิจกรรมในโครงการอย่างหลากหลายเหมาะสมกับคุณภาพของแต่ละกลุ่ม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75 , S.D. = .73) รองลงมา คือ ข้อที่. 13 นักเรียนมีความรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและใช้ในชีวิตประจำวัน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55 , S.D. = .46) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 8.ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมเพียงพอและเหมาะสม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.25 , S.D. = .71)
ข้อเสนอแนะ
1. ด้านการส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ขยายผลไปสู่ผู้ปกครอง เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมการอ่านอย่างยั่งยืน
2. ควรมีการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
3. โรงเรียนควรประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนด้านงบประมาณ ทรัพยากร วัสดุอุกรณ์ หรือ บุคลากร เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
4. ควรนำรูปแบบการประเมิน CIPP Model ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบขั้นตอนของกิจกรรมทุกขั้นตอน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน แก้ปัญหาหรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน