รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E
STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต
ชื่อผู้รายงาน : นายปรัชญา ละงู
ครูชำนาญการ โรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
ปีที่รายงาน : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา3 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 5) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนจากการเรียนรู้ด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่เรียนรายวิชาชีววิทยา3 รหัสวิชา ว32241 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก โรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา3 จำนวน 40 ข้อ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนจากการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.15/81.99 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก เท่ากับ 0.77
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา 3 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา3 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของ
พืชดอก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80
5. ความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนจากการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก อยู่ในระดับสูงมาก