รายงานการพัฒนากิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉ
ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้ศึกษา นางสาวประภัย สานหล้า
ที่ทำงาน โรงเรียนบ้านปากปาด อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษาพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านปากปาด อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 38 แผน กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 18 กิจกรรม คือ โดยใช้ในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง ดังนี้ การละเล่นวิ่งเป ี ้ ยว งูกินหาง มอญซ่อนผ้า อ้ายเข้อ้ายโขง อีกาฟักไข่ จ้ำจี้ ม้าก้านกล้วย เป่ากบ เก้าอี้ดนตรี ซ่อนหา รีรีข้าวสาร โพงพาง ขี่ม้าส่งเมือง ปิดตาควานหา อีตัก เดินกะลา วิ่งล้อ และชักคะเย่อ แบบประเมินการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 รายการและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test) ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.87/88.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ผลการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจ
ในระดับมากที่สุด