LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน

usericon

ชื่อผลงาน    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย    นางปราณี คนธรักษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด    โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ศึกษา    2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดรูปแบบการเรียนรู้ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม เกี่ยวกับสภาพปัญหาด้านการเรียนภาษาไทย และความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความสามารถทางการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมือง ลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence index: IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก ( r ) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยสูตร KR-20 ของคูเดอร์
ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson’s KR-20) และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha)

    ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และความต้องการในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน พบว่านักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน มีความเห็นว่าปัญหาสำคัญที่สุดในการเรียนภาษาไทยคือปัญหาด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยหนังสือส่งเสริม การอ่าน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 ศูนย์รวมศรัทธาวัดพระมหาธาตุ เล่มที่ 2 ภูมิปัญญาชาติเครื่องถมเมืองนคร เล่มที่ 3 ขับกลอนตะลุงมุ่งบ้านนายหนัง เล่มที่ 4 สาธุชนไหลหลั่งแห่ผ้าขึ้นธาตุ และเล่มที่ 5 เยี่ยมเมืองชมตลาดสองฝั่งราชดำเนิน ในการจัดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นของการจัดกิจกรรม 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กิจกรรมการนำเสนอสื่อต่อชั้นเรียน (Class Presentations) ขั้นที่ 2 กิจกรรมการจัดกลุ่ม (Team) ขั้นที่ 3 กิจกรรมการทดสอบหลังเสนอบทเรียน (Quizzes) ขั้นที่ 4 กิจกรรมประเมินความสามารถรายบุคคล (Individual Improvement Scores) ขั้นที่ 5 กิจกรรมตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่มโดยพัฒนาคะแนนทั้งกลุ่ม (Team Recognition) 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ 5) การประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอน แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.67/84.22 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอน แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอน แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.78)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^