รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยของโรงเรียนวัดทองย้อย(
เรื่องที่วิจัย : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยของโรงเรียนวัดทองย้อย
(วุฒิกรประชานุxxxล)
ผู้ประเมิน : นางบุษราภรณ์ ชื่นชม
ปีที่วิจัย : 2555
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยของโรงเรียนวัดทองย้อย(วุฒิกรประชานุxxxล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยของโรงเรียนวัดทองย้อย(วุฒิกรประชานุxxxล)
ประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product)
ประชากรประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 602 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน จากการเปิดตารางการประมาณค่าขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตาราง Krejcie และ Morgan จำนวน 242 คน เป็นการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ภาษาผ่านการทดสอบโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) ตามวิธีการของครอนบาช (Cronbach) จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินที่ใช้เก็บข้อมูล ของผู้ตอบแบบประเมิน ระยะก่อนการดำเนินงานโครงการ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัย (Input) มีค่าความเชื่อมั่น .92 2) แบบประเมินที่ใช้เก็บข้อมูล ของผู้ตอบแบบประเมิน ระยะระหว่างการดำเนินงานโครงการ ด้านกระบวนการ (Process) มีค่าความเชื่อมั่น.90 3) แบบประเมินที่ใช้เก็บข้อมูล ของผู้ตอบแบบประเมิน สิ้นสุดการดำเนินงานโครงการ ด้านผลผลิต (Product) มีค่าความเชื่อมั่น .89 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยของโรงเรียนวัดทองย้อย(วุฒิประชากร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ สิ้นสุดโครงการ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก