การบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครู
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนคลองลาดกระบัง จำนวน 154 คน ครู จำนวน 14 คน ผู้ปกครอง จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 9 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 4 ฉบับ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .92 – .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ร้อยละ (Frequency Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษากลยุทธ์ การบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครู สู่ความเป็นมืออาชีพ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พบว่า มีผลการบริหารอยู่ในระดับมาก
2. ผลการปฏิบัติตามกลยุทธ์ การบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ ในความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พบว่า มีผลการบริหารอยู่ในระดับมาก
3. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองลาดกระบัง พบว่า ในปีการศึกษา 2560 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2558 ทุกระดับชั้น
4. ผลการศึกษาคุณภาพของนักเรียน พบว่า ปีการศึกษา 2560 มีการพัฒนาจากปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 24.17
5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด
6. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ พบว่า ครูมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด
7. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ พบว่า ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. การนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนา การบริหารโรงเรียนเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครู สู่ความเป็นมืออาชีพ อาจมีการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
2. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการวัดระดับความเป็นครูมืออาชีพก่อนการทดลองใช้กลยุทธ์ เพื่อจะได้เห็นผลของการนำกลยุทธ์ไปใช้อย่างชัดเจน