การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึ
ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้เขียน : นางสาวภาวิณี ดีสุข
ตำแหน่ง : ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง สังกัดเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง อำภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม รูปแบบการทดลองคือ One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) บทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้บทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.30 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.38 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาว่า
1) บทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.16/89.01 และค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.6320
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีความพึงพอใจต่อบทเรียนสำเร็จรูปพระพุทธศาสนา อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.20