การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา
ผู้วิจัย นางราตรี จันทคุต ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับวิธีเรียน แบบร่วมมือ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับวิธีเรียนแบบร่วมมือ และ 3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับวิธีเรียนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test depondent Somples) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. แบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 90.58/88.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับวิธีเรียนแบบร่วมมือ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับวิธีเรียนแบบร่วมมือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70)