รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาพฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3) ศึกษาความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเวียงนครวิทยาคม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ (ซึ่งมีการวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบ และคัดเลือกข้อสอบที่มี ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป ค่าความยากง่ายของข้อสอบอยู่ในช่วง 0.67 – 0.97
ค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.21 – 0.49 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 3) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ค่าความยากง่ายของข้อสอบอยู่ในช่วง 0.57 – 0.98 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.21 – 0.49 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 4) แบบประเมินแบบสอบถามความสามารถในการทำโครงงาน ค่าความยากง่ายของข้อสอบอยู่ในช่วง 0.57 – 0.98 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.21 – 0.49 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามวิธีของลิเคร์ท (Likert) มี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ (ซึ่งมีการวิเคราะห์คุณภาพของข้อคำถาม และคัดเลือกข้อคำถาม ที่มี ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป
ค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.57-0.88 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.97 การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest Posttest Design โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การดำเนินการศึกษาได้ผลดังต่อไปนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. พฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1- 4 ในทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ความสามารถด้านการสืบค้นและจัดกระทำข้อมูล ความสามารถด้านการกำหนดปัญหา ความสามารถด้านการวางแผนการทำงาน ความสามารด้านการลงมือปฏิบัติ และความสามารถด้านการนำเสนอข้อมูลเป็นลำดับสุดท้าย โดยภาพรวมแผนที่ 5- 8 ในทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ความสามารถด้านการกำหนดปัญหา ความสามารถด้านการวางแผนการทำงาน ความสามารถด้านการสืบค้นและจัดกระทำข้อมูล ความสามารถด้านการลงมือปฏิบัติ และความสามารถด้านการนำเสนอข้อมูล เป็นลำดับสุดท้าย และเมื่อพิจารณาในภาพรวม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1- 8 ในทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ความสามารถด้านการกำหนด ความสามารถด้านการสืบค้นและจัดกระทำข้อมูล ความสามารถด้านการวางแผนการทำงาน ความสามารด้านการลงมือปฏิบัติ และความสามารถด้านการนำเสนอข้อมูล เป็นลำดับสุดท้าย
3. ความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเป็นรายกลุ่ม
ใน 3 ด้าน โดยภาพรวมในทุกด้านพบว่าอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความสามารถด้านการวางแผนการทำงาน ความสามารด้านกระบวนการทำงาน และความสามารถด้านผลงานและการนำเสนอ เป็นลำดับสุดท้าย
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี รหัสวิชา ง32102 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ รองลงมาได้แก่ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ เป็นลำดับสุดท้าย ปัญหาที่นักเรียนพบมากที่สุดในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน คือ สมาชิกกลุ่มไม่ช่วยกันแสดงความคิดเห็นมีจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 61.29 และการทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด มีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 51.61 ตามลำดับ ด้านข้อเสนอแนะของนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่านักเรียนมีข้อเสนอแนะมากที่สุดในเรื่อง ควรเพิ่มระยะเวลาในการทำกิจกรรมเพราะ การทำงานกลุ่มต้องใช้เวลาคิดและปรึกษากันในการทำงานมากกว่าการเรียนรู้แบบรายบุคคลจำนวน 21 คนคิดเป็นร้อยละ 67.74