รายงานการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต
ชื่อผู้รายงาน นายเดชฤทธิ์ ปาระรักษ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive random sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต มีจำนวน 5 ชุด 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต และ 3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent
ผลการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต พบว่า ความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
( มีค่าระหว่าง 4.50 - 4.60, S.D. มีค่าระหว่าง 0.27- 0.45) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.84/82.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด