รายงานผลการพัฒนาชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์(STAD)
แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด ซึ่งประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) แบบทดสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าที ( t-test )
ผลการศึกษา พบว่า 1) ชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีประสิทธิภาพ 82.32/82.89 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานข้อ 1 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากเรียนด้วยชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องคับสมมุติฐานข้อ 2 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 3