การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียล
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สมศักดิ์ ปรากฏมาก
Somsak Prakotmak
โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
Email : somsakpra@gmail.com
________________________________________________________________________
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4)ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนครบุรี ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ dependent-samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ มีประเด็นที่ค้นพบ ดังนี้
1.1 ทักษะการอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหรือเป็นภาษาที่สอง ดังนั้นผู้สอนจึงต้องหาวิธีการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ตรงตามความมุ่งหมายของหลักสูตรและนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ และใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1.2 ผลจากจากการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนครบุรี จำนวน 10 คน สามารถสรุปสาระสำคัญได้ 2 ประการ ดังนี้
1) สาเหตุที่ทำให้ผู้เรียนขาดทักษะในการอ่านเพื่อความเข้าใจเนื่องมาจากการที่ผู้สอนยังใช้วิธีสอนที่ไม่เหมาะสม ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษและขาดโอกาสในการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
2) การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ สามารถช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจได้ เพราะเนื้อหาในการเรียนมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้จากกลุ่มวิชาอื่น ๆ และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ในลักษณะองค์รวม อีกทั้งกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจะมุ่งเน้นการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ของตนเองได้จากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและมีคุณค่า ผู้เรียนสามารถนำเนื้อหาและทักษะที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ELCRE Model) มีความสอดคล้องกันในทุกองค์ประกอบ และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากมีองค์ประกอบ คือหลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ระบบสังคม หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุนเงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ และผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบ โดยมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 5ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิมและเร้าความสนใจ (Eliciting and Engagement: E) 2) ขั้นเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning and Sharing: L) 3) ขั้นสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Concluding Ideas: C) 4) ขั้นสะท้อนผลการเรียนรู้ (Reflecting: R) และ 5) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation: E)
3. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนครบุรี มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสอดแทรกตามทฤษฎีโซเชียลคอนสตรัคติวิสต์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสอดแทรก, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the basic information needed for the development of an infusion integrated instructional model based on the social constructivist concepts to enhance English reading comprehension ability of Mattayomsuksa 2 students, 2) to develop an infusion integrated instructional model based on the social constructivist concepts to enhance English reading comprehension ability of Mattayomsuksa 2 students, 3) to investigate the effect of the instructional model on Mattayomsuksa 2 students’ reading comprehension ability, and 4) to study students’ satisfaction towards the instructional model. The samples of this study were 28 Mattayomsuksa 2/1 students of Khonburi School in the first semester of the 2018 academic year. The research instruments included 6 lesson plans, a pre and post English reading comprehension test, and a questionnaire on the students' satisfaction towards the instructional model. The quantitative data were statistically analyzed with mean, standard deviation, t-test dependent scores, while the qualitative data with content analysis. The findings of the research revealed that:
1. The results of the study the basic information needed for the development of the instructional model are as follows:
1.1 English reading comprehension skill is a necessary skill for learners of English. Hence, teachers have to create learning activities on reading to improve not only students’ reading comprehension but also life skills for 21st century in order to help students achieve the aims of curriculum and Thailand 4.0 policies. Learners are expected to use English to communicate in any situations and use English as a tool for their further studies and future careers properly and efficiently.
1.2 The basic information getting from focus group discussion showed that:
1) Most students are quite weak in reading comprehension skill owing to improper teaching approaches, students’ low background knowledge and students’ less opportunity to use English in daily life.
2) Using infusion integrated instructional model based on the social constructivist concepts can enhance English reading comprehension ability because meaningful contents which relate to both other subjects and students’ life can help students’ development of the knowledge concepts in the real world. Moreover, teaching and learning processes which focus on collaborative learning through interaction with peers and the Internet websites can encourage students to use their learning skills in their real life.
2. An infusion integrated instructional model based on the social constructivist concepts to enhance English reading comprehension Ability of Mattayomsuksa 2 students (ELCRE) had all components and the appropriate components for its quality were in a high level. It was constructed under the headings of principles, objectives, syntax (learning process), social system, principle of reaction, support system, condition for implementation of the model, and instructional and nurturing effect. The syntax consisted of 5 steps: 1) Eliciting and Engagement: E 2) (Learning and Sharing: L 3) Concluding Ideas: C 4) Reflecting: R, and 5) Evaluation: E.
3. The English reading comprehension ability of the students, taught with the instructional model, increased significantly at the .05 level.
4. The students’ satisfaction towards the instructional model was at the good level.
Keywords: Infusion Integrated Instruction, English Reading Comprehension