การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงาน ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
กองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรงมหาดไทย
ผู้วิจัย : นายสมชาย กองหนู
ปีที่ทำการวิจัย : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศ แผนที่และแผนผัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศ แผนที่และแผนผังโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศ แผนที่และแผนผังโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิผล 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศ แผนที่ และแผนผัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 4.1) ประเมินความสามารถในการทำโครงงาน หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศ แผนที่ และแผนผัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4.2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศ แผนที่และแผนผังโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือSTAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6
การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน โดยการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง(Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในในขั้นนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารจำนวน 1 ฉบับ ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนา(Design & Development) สังเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 3 การนำไปใช้ (Implement) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ทิศ แผนที่และแผนผัง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 17 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทิศ แผนที่และแผนผัง แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน และแบบประเมินความพึงพอใจ ขั้นตอนที่ 4 การประเมิน(Evaluation) เป็นการนำข้อมูลผลการทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมาวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ความสารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์และแบบประเมินความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ข้อมูลพื้นฐานตามทฤษฎีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และหลักสูตรสถานศึกษาในการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพโดยยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมทักษะกระบวนการให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดีขึ้น ส่วนการศึกษาความต้องการของครูและนักเรียนต้องการรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่มีกิจกรรม การฝึกทักษะอย่างมีขั้นตอนและการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงานได้อย่างมีระบบ
2) การพัฒนาและ หาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตสาสตร์ เรื่อง ทิศ แผนที่ และแผนผังโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคณิตศาสตร์ ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.25/83.72 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตสาสตร์เรื่อง ทิศ แผนที่และแผนผัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STADสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศ แผนที่ และแผนผัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำโครงงาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.1) การประเมินผลนักเรียนมีความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ โดยมีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 2.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.37
4.2) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ทิศ แผนที่และแผนผังโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานคณิตศาสตร์ ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือSTAD โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.59 รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์นี้ควรปรับขั้นการจัดเตรียมนักเรียน โดยจัดให้มีการเปลี่ยนกลุ่มใหม่เมื่อเรียนจบแต่ละผลการเรียน