LASTEST NEWS

30 พ.ย. 2567เปิดรายละเอียด! ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ และปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลผกระทบของพนักงานราชการ (มติ ครม. 29 พ.ย.2567) 30 พ.ย. 2567สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 รับสมัครพนักงานราชการครู และพนักงานราชการพี่เลี้ยง ทั้งหมด 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-13 ธันวาคม 2567  30 พ.ย. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2567 29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อผลงานทางวิชาการ : รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step)
ชื่อผู้ศึกษา     : สุจีรา จุลสัตย์
ปีการศึกษา     : 2560
บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 31 คน โรงเรียนวัดพิศาลนฤมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) จำนวน 10 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) จำนวน 30 แผน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน มีความเห็นว่านักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียนภาษาไทยในทุกทักษะโดยเฉพาะทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมาตราตัวสะกด
2. หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.94/83.87 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม จากเรื่องราวในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับขั้นตอนการสอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.75, S.D. = 0.55)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^