รายงาน โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้รายงาน นายจำรัส รัตนวิชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลสัมฤทธิ์ในระดับชาติในปัจจุบันปรากฏว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าระดับชาติ ปรากฏว่าต้องปรับปรุงที่ ปัจจัย คือด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก
ได้แก่ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ ICT การยกระดับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่ง ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านพัฒนา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนให้ดีขึ้น และเพื่อเพิ่มสมรรถนของนักเรียนตามหลักสูตรให้สูงขึ้น
ผู้รายงานในฐานะเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการ มีความเชื่อว่าในการบริหารงานสถานศึกษานั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการกระทำหรือไม่กระทำการใดๆ คือ ข้อมูลและสารสนเทศของกิจกรรมหรือโครงการ ทั้งทางด้านสภาพ แวดล้อม ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต รวมทั้งปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานของกิจกรรม หรือโครงการอย่างเป็นระบบ จำเป็นต้องมีการประเมินโครงการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการโครงการการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามที่คาดหวัง จึงต้องมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ด้วยเหตุที่การประเมินผลเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศ มาประกอบการพิจารณาโครงการได้อย่างชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการดำเนินงานครั้งต่อไป โรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จึงได้ดำเนินงานประเมินผลโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู โรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ขึ้น
วัตถุประสงค์
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู โรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพการดำเนินงานของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู โรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปการศึกษา 2560 ในด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ
2. เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู โรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปการศึกษา 2560
3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT)
4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการส่งเสริมให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู
5. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการที่มีต่อคุณภาพนักเรียนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT)
รูปแบบการประเมินโครงการ
รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL เป็นการประเมินวัตถุประสงค์และรายละเอียด ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการและกิจกรรม มีลักษณะเป็นแบบประเมินความก้าวหน้าเพื่อชี้จุดเด่นจุดด้อยของการดำเนินงาน ทั้งในระยะก่อนการดำเนินงาน ระหว่างการดำเนินงาน และเมื่อเสร็จสิ้น การดำเนินงานโดยประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การประเมินสภาวะแวดล้อม ( Context Evaluation ) ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ
เกี่ยวกับการวางแผน ในการกำหนดวัตถุประสงค์
2. การประเมินการวิจัยเบื้องต้น ( Input Evaluation ) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับ
โครงสร้างเพื่อกำหนดรูปแบบของโครงการ
3. การประเมินกระบวนการ ( Process Evaluation ) เป็นการตัดสินใจในด้านการ
ประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมการดำเนินการของโครงการ
4. การประเมินผลผลิต ( Product Evaluation ) จะช่วยในการตัดสินใจเพื่อตัดสิน
และดูผลสำเร็จของโครงการ
ขอบเขตของการประเมิน
การประเมินโครงการนี้มุ่งประเมินผลการดำเนินงานโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู โรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปการศึกษา 2560 โดยมีขอบเขตในการดำเนินงานดังนี้
1. ด้านเนื้อหา
1. สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 รูปแบบ คือ
1). DLIT Classroom : ห้องเรียนแห่งคุณภาพ
2). DLIT Resources : คลังสื่อประกอบการเรียนการสอน
3). DLIT Library : ห้องสมุดออนไลน์
4). DLIT Professional Learning Community : DLIT PLC ชุมชนแห่งการพัฒนาวิชาชีพ
5). DLIT Assessment : คลังข้อสอบ
2. รูปแบบการประเมิน
2.1 บริบทของโครงการกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์โครงการกับนโยบาย ของโรงเรียน
2.2 ความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสม หรือความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่และระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
2.3 กระบวนการการดำเนินการตามโครงการเกี่ยวกับการบริหารโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน จุดเด่น จุดด้อย ความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการจัดหาเทคโนโลยีทางการศึกษา
2.4 ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน ความพึงพอใจของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู ของนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง
3. ประชากร
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู โรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปการศึกษา 2560 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 91 คน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
3.1 ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง จำนวน 3 คน
3.2 คณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 12 คน
3.3 บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 66 คน แยกเป็น
3.3.1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 36 คน 3.3.2) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน
4. ระยะเวลาดำเนินการ ปีการศึกษา 2560
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผลการประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) ในการจัดการเรียนรู โรงเรียนบ้านน้ำบ่อดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง และเป็นแนวทางให้สถานศึกษาอื่นๆ นำไปใช้ในการพิจารณาปรับปรุงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. ผลการดำเนินการจัดกิจกรรมได้ผลตรงตามจุดมุ่งหมายและเป็นประโยชน์แก่นักเรียนในการเสริมประสบการณ์เรียนรู้ของนักเรียน ทำให้นักเรียนได้แสดงพฤติกรรมความอยากรู้อยากเห็น ความกระตือรือร้น ความสนใจ ความพอใจที่เกิดจากครูและนักเรียนร่วมกัน จัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนและกระตุ้นให้นักเรียนได้เรียน ได้คิด ได้แสดงออก ได้ทำงานร่วมกัน โดยใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT) และสื่อการเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีการศึกษาแหล่งอื่นและศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังมีส่วนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของครูให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
3. ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เกี่ยวข้องนำผลการประเมินโครงการไปใช้พัฒนางาน
และเผยแพร่ผลการพัฒนาให้แพร่หลาย
ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและอินเตอร์เน็ตในการค้นคว้า