การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย
การเขียนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มด้วยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียนจากห้องเรียนทั้งหมด 2 ห้องเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจำนวน 6 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยผู้รายงานได้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาทดลองสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 26 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการพัฒนาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นประสิทธิภาพเท่ากับ 86.42/86.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย เพื่อพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด