ตัวสกะดไม่ตรงมาตรา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้รายงาน นางสาวเมธาวี อินทร์คุ้มวงศ์
ปีที่วิจัย พุทธศักราช 2560
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุขวัฒนาราม ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานประกอบด้วย 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 4 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 1.00 และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และค่าทดสอบที (t-test) ผลการรายงานสรุปได้ดังนี้
1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ 82.92/83.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา (แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก