การสร้างและพัฒนานวัตกรรมบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ประวัติศาสตร์
ผู้รายงาน นางพูลศรี สุทธิผล
บทคัดย่อ
การสร้างและพัฒนานวัตกรรมบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียน วัดตะเคียนทอง (เพชโรปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2มี วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดรรชนีประสิทธิผลของบบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดตะเคียนทองฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2/2553 จำนวน 18 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 4 เรื่อง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.61 มีค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.93 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดรรชนีประสิทธิผลและการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการทดลองพบว่า นวัตกรรมบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 92.90/85.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ได้ค่าดรรชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8365 หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.97 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก