การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะ
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย ฉลองขวัญ รักรณรงค์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) สังกัดเทศบาลนครตรังจังหวัดตรัง
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่รายงาน 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สร้างการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 2)ศึกษาประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 3)ศึกษาผลการนำการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1ไปใช้ในสภาพจริง ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การสร้างเครื่องมือประกอบการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODELเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ประกอบด้วย แผนประกอบการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL ซึ่งประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และแบบทดสอบทักษะการคิดประเมินความดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน แล้วนำไปหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกและค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ระยะที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัย
ปีที่ 1 โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Pretest Posttest Control Group Design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล๓ (บ้านนาตาล่วง) สังกัดเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องๆ ละ 19 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบปกติและกลุ่มทดลองจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL และระยะที่ 4 การขยายผลการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่1 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 6 คน ที่สนใจนำรูปแบบการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL ไปใช้สอนนักเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จำนวน 1 หน่วยการเรียน แล้วประเมินความเหมาะสมในการใช้ ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดประสบการณ์รูปแบบKWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 มีขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Kindle = K) 2) ขั้นปฏิบัติ (Work = W) 3) ขั้นประเมินผล (Assess = A) 4) ขั้นนำเสนอผล
(Notify = N) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมินให้มีค่าความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะ
การคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1
2.1หลังการจัดประสบการณ์รูปแบบKWAN MODEL คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 มีค่าสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบปกติ คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 มีค่าสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ.01
2.3 ก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 กลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL กับกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบปกติ ไม่แตกต่างกัน
2.4 หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดของนักเรียน
ชั้นปฐมวัยปีที่ 1 กลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ผลการนำการจัดประสบการณ์รูปแบบ KWAN MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1 ไปใช้ในสภาพจริงพบว่า ครูผู้สอนระดับปฐมวัยประเมินให้มีค่าความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด.