รายงานผลการพัฒนาหนังสือนิทาน ชุดพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ
ผู้วิจัย นางวันวิศา วุฒิมานพ โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาประสิทธิภาพของหนังสือนิทาน ชุดพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้ได้ประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้หนังสือนิทาน ชุดพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทาน ชุดพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คนโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราไม่ถูกต้อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) หนังสือนิทาน ชุดพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ จำนวน 4 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน 16 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 2 ฉบับ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือนิทานทั้ง 4 เล่ม และคู่มือครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพหนังสือนิทาน ชุดพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมของหนังสือนิทานทั้ง 4 เล่ม (E1 / E2) เท่ากับ 82.50/84.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้หนังสือนิทาน ชุดพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทาน ชุดพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือมีค่าเฉลี่ย ( = 4.52 - 4.77) นั่นคือมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66)