การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ
คำควบ กล้ำ ร ล ว โดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางวันวิศา วุฒิมานพ
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) ศึกษาผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีข้อย่อยดังนี้ 3.1) ศึกษาทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว ก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (4) ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คนโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เฉพาะนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว ไม่ถูกต้อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว ปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านออกเสียง จำนวน 2 ฉบับ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมทั้ง 5 เล่ม และคู่มือครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน มีความเห็นว่ามีปัญหาในการเรียนวิชาภาษาไทยทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการสื่อการเรียนรู้ประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีเรื่องราวใกล้ตัวมาใช้ประกอบการเรียน ส่วนครูต้องการให้สอนโดยกระบวนการใช้วิธีการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว ของนักเรียนได้
2. ประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมของหนังสืออ่านเพิ่มเติมทั้ง 5 เล่ม (E1 / E2) เท่ากับ 84.27/86.49 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ศึกษาผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามข้อย่อยดังนี้
3.1) ศึกษาทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว ก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดคำควบกล้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว โดยวิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือมีค่าเฉลี่ย ( = 4.50 – 4.80) นั่นคือมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67)