รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่าน
ภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)
ชื่อผู้วิจัย : นางรินทร์รดี พิทักษ์
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)ตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) และ 4) ประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) จำนวน 36 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย (1) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ (2) แบบประเมินทักษะการคิด และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการทดสอบที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) มีชื่อว่า “RINRADEE Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการเน้นที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ และการเรียนแบบร่วมมือ 2. วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด คือ การคิดวิเคราะห์ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา เพื่อนำมาฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม (Review Previous Knowledge : R) 2) ขั้นตอนที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (Interaction Group : I) 3) ขั้นตอนที่ 3 ค้นหาและบันทึกความหมายของคำศัพท์ (Note the meaning of Vocabularies : N) 4) ขั้นตอนที่ 4 การอ่านและเขียน (Reading and Writing : R) 5) ขั้นตอนที่ 5 การอ่านออกเสียง ฝึกถามและตอบ (Action Ask & Answer : A) 6) ขั้นตอนที่ 6 การบันทึกด้วยแผนผังความคิด (Draw a Mind Map : D) 7) ขั้นตอนที่ 7 การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ (Enlargement : E) 8) ขั้นตอนที่ 8 การประเมินผลและแก้ไข (Evaluation : E) 4. การวัดและประเมินผล 2 ด้าน คือ 1) ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ 2) ทักษะการคิด 5. เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย (1) ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี (2) ผู้เรียนมีความคิดวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมกับข้อมูลที่ได้รับ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.25/85.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) หลังเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสงขลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อยู่ในระดับมากที่สุด