การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 31 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระยะเวลาที่ใช้ 16 ชั่วโมง มีแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ คู่มือการใช้งานแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้ว และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x- ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ค่าความเที่ยง (Reliability) และการหาค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.87/83.23
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( x-) เท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.49